Feeds RSS

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

นาง นัยนา เศรษฐบุตร
รองผู้อำนวยการ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ (ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ)



แผนกประชาสัมพันธ์

นางสาว แพรวพรรณ งามสมศักดิ์

แผนกกิจกรรมพิเศษ

นางสาว ลัดดาวัลย์ บุญณะ


ประวัติความเป็นมา


ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๓ ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ เป็นหน่วยอำนวยการ และ ประสานงาน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้มีการจัดตั้ง แผนกธุรการและประชาสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่งานด้านเอกสาร งานสารบรรณ ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ , ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น ฝ่ายอำนวยการ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น ฝ่ายธุรการและประชาสัมพันธ์ เมื่อ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ และ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อ เป็น ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ เมื่อ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสายการบังคับบัญชาใหม่ มีหน้าที่รับนโยบายจากฝ่ายบริหาร การประสานงาน การกำกับดูแล งานประชาสัมพันธ์ งานกิจกรรมพิเศษต่างๆ งานกิจกรรมภายนอก ตลอดจนงานวารสารของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ปัจจุบันนี้มี นางนัยนา เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ(ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ) เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรง ๒ แผนก คือ ๑. แผนกประชาสัมพันธ์ ซึ่งมี น.ส.แพรวพรรณ งามสมศักดิ์ เป็น หัวหน้าแผนก๒. แผนกกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมี น.ส.ลัดดาวัลย์ บุญณะ เป็น รักษาการหัวหน้าแผนก

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

เส้นทางการเดินทาง




1. เส้นทางที่ 1 (สีเขียว) ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) จากแยกทางหลวง 345 (อ.บางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงจนถึงศูนย์ฯ


2. เส้นทางที่ 2 (สีส้ม)ทางหลวงหมายเลข 306 (ถ.ติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่านแยกบางพูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยกเชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์


3. เส้นทางที่ 3 (สีบานเย็น)ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอินเลี้ยวซ้ายแล้วตรงไปผ่านสี่แยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


4. เส้นทางที่ 4 (สีเปลือกมังคุด)ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) จากรังสิตหรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอินเข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) -ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย- เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


5. เส้นทางที่ 5 (สีเหลือง)ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) -ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา-เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


6. เส้นทางที่ 6 (สีน้ำเงิน)ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทางหลวงสายเอเชีย หรือ อยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกท่าน้ำบางไทร- เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

ที่มา http://www.bangsaiarts.com/bangsai_Map_T.html

ปฏิทินกิกรรม





สมโภชพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ครั้งที่ 2 ประจำปี 2552
จัดพิธีกรรมสมโภชพระโพธิสัตว์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายไทย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาฝ่ายจีนโดยมีพุทธศาสนิกชน ทั่วประเทศที่ศรัทธาในองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมเข้าร่วมงาน ซึ่งในช่วงงานไม่เก็บค่าผ่านประตูเข้าศูนย์ฯ
24 ก.ย.52
พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนศิลปาชีพ รุ่นที่ 70
พิธีมอบประกาศนียบัตรผู้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นต้น , ขั้นปลาย และดีเด่น ณ หอประชุม ม.ร.ว.หญิงรสลิน คัคณางค์ ภายในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
23 ต.ค. 52
วันปิยมหาราช
ทำบุญตักบาตรพระภิกษุ 55 รูป ถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุ 8 รูป
31ต.ค. - 2 พ.ย. 52
งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ฯ ครั้งที่ 22
มีการจัดการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง รวมทั้งมีการแสดงภาคบันเทิง , การแสดงศิลปะวัฒนธรรม4 ภาค และการออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
10 - 22 พ..ย. 52
นิทรรศการแผนกช่างจิตรกรรมประยุกต์
งานแสดงผลงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แผนกช่างจิตรกรรมประยุกต์ จัดแสดง ณ ศูนย์การค้า สยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
5 ธ.ค. 52
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)
ทำบุญตักบาตรพระภิกษุ 83 รูป , ถวายภัตตาหารเพล พระภิกษุ 9 รูป ,พิธีถวายพระพรชัยมงคล
หมายเหตุ กำหนดการ / กิจกรรม อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ผลการประเมิน

เนื้อหาเกี่ยวกับ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ

ประวัติความเป็นมา พระตำหนัก พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ วังปลา ศาลาพระมิ่งขวัญ หมู่บ้านศิลปาชีพ อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ

วัตถุประสงค์
- มีความเข้าใจในเรื่องราวประวัติความเป็นมาของ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
- ได้รู้เรื่องราวพระตำหนักของ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร

- มีความเข้าใจพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์
- มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราววังปลา, ศาลาพระมิ่งขวัญ, หมู่บ้านศิลปาชีพ, อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ได้

-เนื้อหาเป็นประโยชน์ (4.5)
-ความน่าสนใจ (5)
-ความทันสมัย (5)
-การออกแบบ/ความสวยงาม (4.5)
-ความเรียบง่าย(อ่านง่าย เข้าใจง่าย)(5)

รวมคะแนน 24

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

การออกแบบที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการออกแบบนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ในการยึดถือปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักออกแบ่งออกได้ดังนี้

1. หน้าที่ของการนำไปใช้ (Function) เป็นสิ่งแรกที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งเพราะของแต่ละอย่างมีหน้าที่ในการใช้สอยไม่เหมือนกัน เช่น เครื่องปั้นดินเผาจะนำมาใช้ประโยชน์แทนโลหะย่อมไม่ได้

2. การประหยัด (Economy) การประหยัดในที่นี้อาจจะหมายถึงการประหยัดวัสดุและเงินทองที่จะนำมาลงทุนด้วย สิ่งต่างๆ ที่มีคุณภาพดีเลิศขนาดไหนก็ตาม

4. วัสดุ (Material) การเลือกวัสดุต่างๆ ที่จะนำมาใช้งานนั้น นอกจากจะประหยัดแล้วเราถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะว่าจะต้องเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ความคงทนถาวร

5. โครงสร้าง (Construction) โครงสร้างของสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นผู้ออกแบบจะต้องศึกษาโครงสร้าง หรือธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะเป็นนักออกแบบที่ดีได้

6. ความงาม (Beauty) ถ้าสิ่งต่างๆที่นักออกแบบได้กระทำขึ้นโดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ สิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือ เรื่องความสวยงาม ถ้าเรายังจำสุภาษิตที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง”

7. ลักษณะเด่นพิเศษเฉพาะอย่าง (Personality) ไม่ว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็จะถือว่ามีลักษณะเด่นประจำตัวของมันอยู่เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบแล้ว จะต้องเน้นจุดดีของแต่ละสิ่งออกมาให้เห็นเด่นชัด จึงจะถือได้ว่าการออกแบบนั้นสมบูรณ์

การออกแบบเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้


1. ความเรียบง่าย (Simplicity)
หมายถึง การจำกัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก กล่าวคือในการสื่อสารเนื้อหากับผู้ใช้นั้น เราต้องเลือกเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอจริง ๆ ออกมาในส่วนของกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้

2. ความสม่ำเสมอ ( Consistency)
หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ เพราะฉะนั้นการออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าควรที่จะมีรูปแบบ สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชั่น (Navigation) และโทนสีที่มีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์

3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)
ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารแต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือขององค์กรได้

4. เนื้อหา (Useful Content)
ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาต้องเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่น

5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation)
เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ

6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal)
ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ
7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่าง ๆ (Compatibility)
การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้าหมายหลากหลายควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability)
ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ ถ้าเว็บที่จัดทำขึ้นอย่างลวก ๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและระบบการจัดการข้อมูล ถ้ามีปัญหามากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถือ

9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability)
ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ลิงค์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ต้องตรวจสอบว่ายังสามารถลิงค์ข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเว็บไซต์อื่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดจากลิงค์ ก็คือ ลิงค์ขาด ซึ่งพบได้บ่อยเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

ที่มา http://tummove.multiply.com/reviews/item/1