Feeds RSS

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จันทร์ทา ขานเกตุ




จันทร์ทา ขานเกตุ

50010514006

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมาหาสารคาม


วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

นาง นัยนา เศรษฐบุตร
รองผู้อำนวยการ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ (ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ)



แผนกประชาสัมพันธ์

นางสาว แพรวพรรณ งามสมศักดิ์

แผนกกิจกรรมพิเศษ

นางสาว ลัดดาวัลย์ บุญณะ


ประวัติความเป็นมา


ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๓ ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ เป็นหน่วยอำนวยการ และ ประสานงาน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้มีการจัดตั้ง แผนกธุรการและประชาสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่งานด้านเอกสาร งานสารบรรณ ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ , ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น ฝ่ายอำนวยการ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น ฝ่ายธุรการและประชาสัมพันธ์ เมื่อ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ และ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อ เป็น ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ เมื่อ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสายการบังคับบัญชาใหม่ มีหน้าที่รับนโยบายจากฝ่ายบริหาร การประสานงาน การกำกับดูแล งานประชาสัมพันธ์ งานกิจกรรมพิเศษต่างๆ งานกิจกรรมภายนอก ตลอดจนงานวารสารของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ปัจจุบันนี้มี นางนัยนา เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ(ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ) เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรง ๒ แผนก คือ ๑. แผนกประชาสัมพันธ์ ซึ่งมี น.ส.แพรวพรรณ งามสมศักดิ์ เป็น หัวหน้าแผนก๒. แผนกกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมี น.ส.ลัดดาวัลย์ บุญณะ เป็น รักษาการหัวหน้าแผนก

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

เส้นทางการเดินทาง




1. เส้นทางที่ 1 (สีเขียว) ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) จากแยกทางหลวง 345 (อ.บางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงจนถึงศูนย์ฯ


2. เส้นทางที่ 2 (สีส้ม)ทางหลวงหมายเลข 306 (ถ.ติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่านแยกบางพูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยกเชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์


3. เส้นทางที่ 3 (สีบานเย็น)ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอินเลี้ยวซ้ายแล้วตรงไปผ่านสี่แยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


4. เส้นทางที่ 4 (สีเปลือกมังคุด)ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) จากรังสิตหรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอินเข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) -ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย- เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


5. เส้นทางที่ 5 (สีเหลือง)ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) -ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา-เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ


6. เส้นทางที่ 6 (สีน้ำเงิน)ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทางหลวงสายเอเชีย หรือ อยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกท่าน้ำบางไทร- เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

ที่มา http://www.bangsaiarts.com/bangsai_Map_T.html

ปฏิทินกิกรรม





สมโภชพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ครั้งที่ 2 ประจำปี 2552
จัดพิธีกรรมสมโภชพระโพธิสัตว์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายไทย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาฝ่ายจีนโดยมีพุทธศาสนิกชน ทั่วประเทศที่ศรัทธาในองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมเข้าร่วมงาน ซึ่งในช่วงงานไม่เก็บค่าผ่านประตูเข้าศูนย์ฯ
24 ก.ย.52
พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนศิลปาชีพ รุ่นที่ 70
พิธีมอบประกาศนียบัตรผู้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นต้น , ขั้นปลาย และดีเด่น ณ หอประชุม ม.ร.ว.หญิงรสลิน คัคณางค์ ภายในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
23 ต.ค. 52
วันปิยมหาราช
ทำบุญตักบาตรพระภิกษุ 55 รูป ถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุ 8 รูป
31ต.ค. - 2 พ.ย. 52
งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ฯ ครั้งที่ 22
มีการจัดการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง รวมทั้งมีการแสดงภาคบันเทิง , การแสดงศิลปะวัฒนธรรม4 ภาค และการออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
10 - 22 พ..ย. 52
นิทรรศการแผนกช่างจิตรกรรมประยุกต์
งานแสดงผลงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แผนกช่างจิตรกรรมประยุกต์ จัดแสดง ณ ศูนย์การค้า สยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
5 ธ.ค. 52
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)
ทำบุญตักบาตรพระภิกษุ 83 รูป , ถวายภัตตาหารเพล พระภิกษุ 9 รูป ,พิธีถวายพระพรชัยมงคล
หมายเหตุ กำหนดการ / กิจกรรม อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ผลการประเมิน

เนื้อหาเกี่ยวกับ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ

ประวัติความเป็นมา พระตำหนัก พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ วังปลา ศาลาพระมิ่งขวัญ หมู่บ้านศิลปาชีพ อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ

วัตถุประสงค์
- มีความเข้าใจในเรื่องราวประวัติความเป็นมาของ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
- ได้รู้เรื่องราวพระตำหนักของ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร

- มีความเข้าใจพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์
- มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราววังปลา, ศาลาพระมิ่งขวัญ, หมู่บ้านศิลปาชีพ, อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ได้

-เนื้อหาเป็นประโยชน์ (4.5)
-ความน่าสนใจ (5)
-ความทันสมัย (5)
-การออกแบบ/ความสวยงาม (4.5)
-ความเรียบง่าย(อ่านง่าย เข้าใจง่าย)(5)

รวมคะแนน 24

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

การออกแบบที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการออกแบบนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ในการยึดถือปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักออกแบ่งออกได้ดังนี้

1. หน้าที่ของการนำไปใช้ (Function) เป็นสิ่งแรกที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งเพราะของแต่ละอย่างมีหน้าที่ในการใช้สอยไม่เหมือนกัน เช่น เครื่องปั้นดินเผาจะนำมาใช้ประโยชน์แทนโลหะย่อมไม่ได้

2. การประหยัด (Economy) การประหยัดในที่นี้อาจจะหมายถึงการประหยัดวัสดุและเงินทองที่จะนำมาลงทุนด้วย สิ่งต่างๆ ที่มีคุณภาพดีเลิศขนาดไหนก็ตาม

4. วัสดุ (Material) การเลือกวัสดุต่างๆ ที่จะนำมาใช้งานนั้น นอกจากจะประหยัดแล้วเราถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะว่าจะต้องเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ความคงทนถาวร

5. โครงสร้าง (Construction) โครงสร้างของสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นผู้ออกแบบจะต้องศึกษาโครงสร้าง หรือธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะเป็นนักออกแบบที่ดีได้

6. ความงาม (Beauty) ถ้าสิ่งต่างๆที่นักออกแบบได้กระทำขึ้นโดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ สิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือ เรื่องความสวยงาม ถ้าเรายังจำสุภาษิตที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง”

7. ลักษณะเด่นพิเศษเฉพาะอย่าง (Personality) ไม่ว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็จะถือว่ามีลักษณะเด่นประจำตัวของมันอยู่เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบแล้ว จะต้องเน้นจุดดีของแต่ละสิ่งออกมาให้เห็นเด่นชัด จึงจะถือได้ว่าการออกแบบนั้นสมบูรณ์

การออกแบบเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้


1. ความเรียบง่าย (Simplicity)
หมายถึง การจำกัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก กล่าวคือในการสื่อสารเนื้อหากับผู้ใช้นั้น เราต้องเลือกเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอจริง ๆ ออกมาในส่วนของกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้

2. ความสม่ำเสมอ ( Consistency)
หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ เพราะฉะนั้นการออกแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าควรที่จะมีรูปแบบ สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชั่น (Navigation) และโทนสีที่มีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์

3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)
ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารแต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือขององค์กรได้

4. เนื้อหา (Useful Content)
ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาต้องเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่น

5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation)
เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ

6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal)
ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ
7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่าง ๆ (Compatibility)
การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้าหมายหลากหลายควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability)
ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ ถ้าเว็บที่จัดทำขึ้นอย่างลวก ๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและระบบการจัดการข้อมูล ถ้ามีปัญหามากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถือ

9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability)
ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ลิงค์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ต้องตรวจสอบว่ายังสามารถลิงค์ข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเว็บไซต์อื่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดจากลิงค์ ก็คือ ลิงค์ขาด ซึ่งพบได้บ่อยเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

ที่มา http://tummove.multiply.com/reviews/item/1


วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว




ชื่อนายจันทร์ทา ขานเกตุ


50010514006


สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา


คณะศึกษาศาสตร์